Untitled Document
Untitled Document
 

 
คิดแล้วรวย
พลิกชีวิต คิดเชิงบวก
ความเชื่อมั่น สร้างได้ด้วยตัวเอง
เป้าหมาย
เปลี่ยนตัวเองให้เป็น อย่างที่อยากเป็น
คัมภีร์สุดยอดทัศนคติ ใช่เลย!!
  เพิ่มเติม >>>
 
 
right story
  •  เรื่องที่อยากเล่าให้ฟัง 175
  •  เรื่องที่อยากเล่าให้ฟัง 173
  •  เรื่องที่อยากเล่าให้ฟัง 174
      ทั้งหมด »»  
     
  •   หัวหน้าทวงงานแล้วรู้สึกหงุดหงิดทุกที ควรแก้ไขอย่างไร?
  •   ความอยากในการทำงานจะลดลงเมื่อเจออุปสรรค จะให้กำลังใจตัวเองอย่างไร?
  •   การพัฒนาพนักงานในองค์กรเราควรพัฒนาคนเก่งหรือพัฒนาคนที่ไม่เก่งดี ?
      ตัวอย่างคำปรึกษาอื่นๆ»»  
     
    คุณ สมศักดิ์ สุริยะกุล
      เนื่องจากผมชอบอ่านหนังสือ จึงเปิดอ่านส่วนนี้ก่อน และเนื่องจากรู้จักเจ้าของบล๊อกเป็นการส่วนตัว และรู้ว่าจะได้แนวคิด ด้านการบริหารในแง่จิตวิทยา และภาวะผู้นำที่เปิดมุมมองใหม่ ๆ ดี ๆ อย่างที่ ผมเคยได้มาแล้วจึงสนใจส่วนนี้เป็นพิเศษ
      เชิญอ่านต่อครับ >>>    
       
     

       
     

    เรื่องที่อยากเล่า # 52

    การบริหารคนเก่ง ( Talent People)

    31 ก.ค. 2552

    สถานะเศรษฐกิจปัจจุบัน การทำมาหากินเป็นไปด้วยความยากลำบาก ผู้บริหารหลายท่านบ่นกับผมว่าทำอย่างไรจึงจะบริหารคนเก่งที่มีอยู่ให้ดีเลิศ เพราะคนเก่งเหล่านี้มีความสามารถพิเศษ แต่ก็ต้องระวังในเรื่องการบริหารให้ดี ไม่มากไป ไม่น้อยไป เดี๋ยวเกิดความไม่พอใจก็จะลาออกกันไปได้ แต่ก็รู้สึกเสียดายถ้าไม่เข้าไปบริหารเขาเพราะดูเหมือนเขายังไม่ค่อยได้ใช้ความเก่งของเขาสักเท่าไหร่นัก

    การพัฒนาพนักงานในองค์กรเราควรพัฒนาคนเก่งหรือพัฒนาคนที่ไม่เก่งดี


    ผมก็แลกเปลี่ยนและให้มุมมองไปหลายเรื่องว่าถ้าเราในฐานะผู้บริหารระดับสูง (ผู้นำ) แล้วยังรู้สึกเป็นกังวลกับการบริหารคนเก่ง (Talent People) แล้ว องค์กรคงได้รับผลกระทบแน่ เราน่าจะคิดให้ชัดเจนว่าจะปฏิบัติกับเขาอย่างไร แล้วก็ตัดสินใจลงมือทำไปเลย ผมเลยขอสรุปเป็นแนวความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับคนเก่งได้ดังนี้ครับ

    1.จับถูกเขา (หยิบจุดเด่น)
    : เราต้องใช้จุดเด่นที่เขาถนัดและมีความสามารถจริง ๆ ในตัวเขาออกมาใช้ให้เต็ม ประสิทธิภาพ โดยชี้ให้เขาเห็นว่าเขามีข้อดีและความสามารถดังนี้แล้ว เขาคิดว่าจะทำเรื่องอะไรได้อีกบ้างที่เป็นประโยชน์ต่อเขาและต่อองค์กร
    2.สร้างเวทีให้เผชิญ
    : คนเก่งต้องมีเวทีให้เล่นครับ จะปล่อยเขาไปตามยถากรรมไม่ได้ลองคุยกับเขาดูว่า เขาอยากทำงานอะไร อยากได้สภาพแวดล้อมแบบไหนและการแข่งขันแบบไหนที่เขาสนใจ ถ้าองค์กรสามารถปรับให้เหมาะสมกับเขาได้ เชื่อแน่เลยว่าเขาจะทำอย่างเต็มที่

    3.ท้าทายด้วยเป้าหมาย
    : คนทุกคนต้องการประสบความสำเร็จและอยากได้รับผลประโยชน์ ลองท้าทายเขาดูว่า ถ้าทำสำเร็จจะได้อะไร ทำให้เขาสนใจเป้าหมายที่จะได้รับควรให้มีการท้าทายด้วยไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เพราะรางวัลสำหรับงานยากย่อมดึงดูดความสนใจของเขาได้อย่างแน่นอน ทำให้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน

    4.สนับสนุนทรัพยากร
    : การทำงานที่ยากและท้าทายย่อมต้องใช้ทรัพยากรที่เพิ่มขึ้นในช่วงแรกคอยให้การสนับสนุน หากสิ่งนั้นสมเหตุสมผลเพียงพอที่จะทำให้งานนั้นบรรลุผลสำเร็จได้ อย่าปล่อยให้เขาต้องดิ้นรนเองทุกอย่าง เพราะอาจทำให้เขารู้สึกว่าเขาไม่ได้ใช้ความสามารถเขาเต็มที่เพราะต้องคอยมาต่อรองกับเจ้าหน้าที่ที่จะขอใช้ทรัพยากรต่าง ๆ
    5.ส่งเสริมให้สร้างทีม
    : งานที่ยิ่งใหญ่มิอาจสำเร็จได้ด้วยคนเพียงคนเดียว ดังนั้นเขาควรมีทีมงานที่เขาเป็นผู้สร้างขึ้น เพราะเขาจะมีความรับผิดชอบในทีมงานของเขาด้วย เมื่องานเริ่มเดินแล้วเขาก็จะล้มเลิกยากเพราะมีทีมงานที่เขามาเกี่ยวข้องแล้ว หากเขาขาดภาวะผู้นำก็ต้องสร้างเขาก่อนนะครับ

    ผมเห็นผู้บริหารระดับสูงใช้แนวความคิดในลักษณะนี้แล้วทำให้คนเก่งได้ฉายแววความสามารถของตัวเองอย่างเต็มที่ อาจมีปัญหาบ้างแต่ก็ไม่หนักหนานักเพราะเขาเป็นผู้เต็มใจทำด้วยตัวเขาเองด้วย ลองนำแนวความคิดบางข้อไปใช้บริหารคนเก่งของคุณดูซิครับ ได้ผลอย่างไรแล้วช่วยแลกเปลี่ยนให้ผมทราบด้วยนะครับ จักขอบคุณอย่างมากเลยครับ


    << เรื่องก่อนหน้า เรื่องเล่าย้อนหลัง เรื่องต่อไป >>

    No feedback in this topic !!!

    ส่งความคิดเห็น/มุมมองของท่าน

    Untitled Document
                         
      Home | บอกเล่าแนวความคิด | เรื่องเล่าน่าภูมิใจ | web นี้ให้อะไร | หลักสูตร | บริการ | ติดต่อผม |  Copyright @ Pakornblog.com