If you cannot view this HTML message properly, please click here
หากพบปัญหาในการดูภาพหรือลิงค์ต่างๆ กรุณา คลิกที่นี่
วันที่ 8 พฤษภาคม 2554
  การทำงานร่วมกันระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง ย่อมมีปัญหาและการไม่เข้าใจซึ่งกันและกันอยู่เสมอ ต่างฝ่ายต่างต้องการให้อีกฝ่ายหนึ่งเปลี่ยนแปลงโดยไม่ค่อยได้คิดว่าคนที่เปลี่ยนได้ง่ายที่สุด คือ “ตัวเราเอง” ลูกน้องเกือบทุกคนต้องการให้หัวหน้าไว้วางใจ และยอมรับในตัวเขา แต่ก็ไม่อยากทำงานหนัก ทั้งๆที่การที่หัวหน้าไว้วางใจและยอมรับต้องให้งานเยอะกว่าคนอื่น เพราะเชื่อมั่นใจตัวเรา
   ผมได้มีโอกาสไปฝึกอบรมและเป็นที่ปรึกษาหลายองค์กรที่ชอบบ่นกับผมว่า หัวหน้าใช้งานเยอะกว่าคนอื่น และดุด่า ว่ากล่าวอยู่เรื่อยๆ เหมือนไม่ค่อยไว้วางใจ ดังตัวอย่างบทสนทนาด้านล่างนี้
 
สมศักดิ์ :
อาจารย์ครับ ทำไมหัวหน้าใช้งานผมอยู่คนเดียวเลย ไม่เห็นค่อยใช้เพื่อนๆผมบ้าง  
   
ผม :
หัวหน้าเชื่อมั่นในตัวเรานะซิ การได้ทำงานมากๆ ใครจะเป็นคนเก่งครับ?  
   
สมศักดิ์ :
ผมรู้ว่า ถ้าผมทำมาก ก็จะได้มาก แต่พอผมทำผิดก็โดนด่าทำเยอะก็โดนด่าเยอะนะครับ  
   
ผม :
การที่หัวหน้า ดุด่า ว่ากล่าวในเรื่องที่เราผิด คิดว่าเขากำลังสอนเรา หรือ ต้องการแกล้งเราครับ?
 
   
สมศักดิ์ :
คิดว่าสอนอยู่นะครับ แต่บางครั้งผมก็รู้สึกน้อยใจอยู่เหมือนกันว่าทำไมต้องเป็นเราคนเดียว
 
   
ผม :
ถ้าสมมติคุณสมศักดิ์เป็นหัวหน้าคน แล้วมีลูกน้องที่ไว้วางใจคุณสมศักดิ์จะใช้งานเขาน้อย หรือมากกว่าคนอื่นครับ?  
   
สมศักดิ์ :
ก็ต้องมากซิครับ เพราะเรามั่นใจว่างานจะออกมาดีกว่าคนอื่น  
   
ผม :
แล้วถ้าลูกน้องทำผิดพลาด จะสอนเขาโดยว่ากล่าวตักเตือนหรือเฉยๆ ไป ปล่อยให้เขาเป็นอย่างนั้น จะได้ไม่ต้องไม่พอใจเราหรือเปล่า
 
   
สมศักดิ์ :
ไม่หรอกครับ ถ้าเรารักเขา อยากพัฒนาเขา เราคงต้องว่ากล่าวตักเตือน ถึงแม้บางครั้งเขาจะไม่พอใจบ้าง ก็ไม่เป็นไร เพราะเราหวังดีกับเขาอยู่แล้ว
 
   
ผม :
หัวหน้าคุณสมศักดิ์ก็คงคิดแบบเดียวกันนะครับ ว่าต้องการพัฒนาเรา  
   
สมศักดิ์ :
ผมก็ว่าอย่างนั้นเหมือนกันครับ แฮ่ะๆ  
   
ผม :
หัวหน้าคุณสมศักดิ์ก็คงเลือกมองเฉพาะข้อดีของหัวหน้า และปรับแนวคิดของตัวเองให้มองหัวหน้าอีกด้านหนึ่ง ที่เป็นด้านบวกได้แล้วนะครับ
 
   
สมศักดิ์ :
ขอบคุณอาจารย์มากครับ ผมจะฟังหัวหน้าให้มากขึ้นครับ  
   การมองว่าหัวหน้าใช้งานเยอะ ไม่ไว้วางใจ ชอบดุด่าว่ากล่าว เป็นทัศนคติเชิงลบ ที่เกิดขึ้นจากมุมมองของเรา เราสามารถปรับเปลี่ยนความคิดของเราใหม่ให้เป็นเชิงบวกได้ด้วยตัวของเราเอง โดยการมองข้อดีของหัวหน้า หรือถ้าเราเป็นหัวหน้าจะปฏิบัติกับลูกน้องอย่างไร ก็คงทำให้เราได้แง่คิดดีๆ ขึ้นมาได้นะครับ คิดดีกับหัวหน้าเถอะครับ คุณจะได้มีความสุขและประสบความสำเร็จกับการทำงานมากขึ้นครับ
 
 
 
 
     ครั้งหน้าพบกับตัวอย่างการใช้คำถามแบบที่ 2 เพื่อฝึกฝนกันให้คุ้นชินมากขึ้นนะครับ

พบกันฉบับหน้าครับ