If you cannot view this HTML message properly,
please click here
หากพบปัญหาในการดูภาพหรือลิงค์ต่างๆ
กรุณา คลิกที่นี่
 
วันที่ 20 กรกฏาคม 2554
  การเลื่อนตำแหน่งใหม่ที่สูงขึ้น ย่อมทำให้หลายคนเกิดความกลัว ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่ดี ที่ได้มีโอกาสทำงานในตำแหน่งที่สูงขึ้น ผลตอบแทนมากขึ้น แต่หลายๆ คน ก็ยังไม่ค่อยอยากทำ เพราะไม่แน่ใจตัวเองว่าทำได้หรือไม่ ทั้งๆที่ หัวหน้าก็เกิดความเชื่อมั่น อยู่แล้ว จึงจะเลื่อนตำแหน่งให้ คุณพิรุณก็เป็นอีกคนหนึ่งที่มีความสามารถ เติบโต มาจากการเป็นพนักงานขาย แล้วขึ้นเป็นผู้จัดการทีมขาย มาวันนี้ กรรมการผู้จัดการต้องการให้ขึ้นมาช่วยเป็นผู้อำนวยการทีมงานขาย คุณพิรุณยังรีรอ เพราะไม่แน่ใจว่าจะทำได้ และคิดว่ายังเร็วเกินไปที่จะรับตำแหน่งนี้
   ผมมีโอกาสเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรของคุณพิรุณจึงให้นัดหมายเพื่อทำการโค้ชชิ่งคุณพิรุณให้เห็นประโยชน์ของโอกาสที่มีมาให้ครั้งนี้
อาจารย์ :
พิรุณยินดีด้วยนะ ที่ได้โอกาสในการรับตำแหน่งใหม่
พิรุณ :
พี่ ยังไม่แน่เลย หนูกลัวว่าจะทำไม่ได้ เพราะงานยากเกินไปแล้วก็คงยุ่งด้วย น่าจะให้คนอื่นที่อาวุโสกว่าทำดีกว่านะ
อาจารย์ :
สมมติว่ายังไม่คิดว่าจะรับหรือไม่รับคิดว่าตำแหน่งนี้ต้องทำอะไรบ้างครับ?
พิรุณ :
ผู้อำนวยการทีมงานขายคงต้องทำหลายเรื่อง เช่น
- กำหนดเป้าหมายยอดขายรวม โดยรวบรวมกับผู้จัดการแต่ละทีม
- วางแผนงานอย่างละเอียด
- กำหนดกลยุทธ์ที่จะขาย
- ปรับโครงสร้างทีมขายให้เหมาะสม
- ประสานงานช่วยเหลือทีมในทุกเรื่องที่ Sales อยากได้
เป็นต้น
โค้ช :
แล้วพิรุณคิดว่าถ้าจะต้องทำเรื่องเหล่านี้ พอจะทำได้หรือไม่
พิรุณ :
ถ้าเตรียมตัวก็พอทำได้ แต่ตอนปฏิบัติจะยากกว่าตอนเตรียมเยอะเลย
โค้ช :
ถ้ามองเป็นงานท้าทายแล้ว พิรุณรู้สึกอย่างไร?
พิรุณ :
ถ้ามองว่าน่าสนใจก็น่าสนใจดี แต่ไม่แน่ใจว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นมาบ้าง
โค้ช :
แล้วถ้าได้ทำแล้วจะเกิดประโยชน์อะไรขึ้นบ้าง?
พิรุณ :
ก็มีประโยชน์เยอะ เช่น
- ช่วยองค์กรได้ (พิรุณเป็นคนรักองค์กร)
- พัฒนาตัวเอง
- ท้าทายความสามารถที่ทำอยู่
- ได้ลองทำเรื่องยากๆดู
โค้ช :
พิรุณคิดว่ามีประโยขน์แต่กลัวทำไม่ได้ ใช่หรือไม่?
พิรุณ :
กลัวทำได้ไม่ดีมากกว่าค่ะ
โค้ช :
ถ้ามองเป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งที่เราจะได้รับล่ะ
พิรุณ :
ก็ดีนะค่ะ อย่างน้อยก็ทำให้ตื่นเต้นดี ทำให้เต็มที่ก็พอ
โค้ช :
ถูกแล้วล่ะ ตอนนี้คิดอย่างไรบ้างแล้ว
พิรุณ :
ไว้หนู ทำแผนมาให้ดูก่อนดีกว่า แต่พี่จะช่วยด้วยนะ
โค้ช :
ยินดี แต่พิรุณต้องคิดว่าได้มีโอกาสลงมือทำ อย่าเพิ่งกังวลกับผลลัพธ์มากเกินไปน่ะ
พิรุณ :
ค่ะ แล้วจะส่งแผนให้นะค่ะ
โค้ช :
ขอบคุณครับ
   ครั้งหน้าเปลี่ยนบรรยากาศไปเป็นเรื่องใกล้ตัวกันบ้างนะครับ นำกระบวนการโค้ชนี้ไปใช้ในครอบครัว ท่านที่เป็นคุณพ่อ คุณแม่ แล้ว เตรียมตัวพบกับการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการการโค้ชลูกด้วยตัวอย่างการใช้คำถามหลากหลาย

พบกันฉบับหน้าครับ