If you cannot view this HTML message properly,
please click here
หากพบปัญหาในการดูภาพหรือลิงค์ต่างๆ
กรุณา คลิกที่นี่
วันที่ - สิงหาคม 2554
  ผมดำเนินการทำโปรแกรมการโค้ชชิ่งผู้บริหาร (Executive Coachintg) โดยทำแบบ 1:1 Coaching ทำให้ผู้บริหารเกิดการเปลี่ยนแปลงตัวเองในด้านต่างๆ มากมาย โดยสิ่งที่ผมดำเนินการโดยส่วนใหญ่จะทำดังนี้
1. สอบถามสาเหตุที่เลือก “หัวข้อนี้” (หัวข้อที่ใช้ในการโค้ชชิ่ง)
2. อธิบายเนื้อหาที่ได้เตรียมไว้ในแต่ละเรื่องที่แบ่งย่อยไว้
3. ถามความคิดเห็นของโค้ชชี่ในเรื่องที่พูดคุย
4. บอกแนวความคิดของโค้ชบางส่วน
5. ถามคำถามในสิ่งที่โค้ชชี่จะนำไปปฏิบัติ
6. เปิดมุมมองใหม่ๆ ในอุปสรรคที่โค้ชติดอยู่
7. ให้กำลังใจในการก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ
8. ทำให้โค้ชชี่มีทางเลือกในการจัดการปัญหาของตัวเอง
9. สรุปผลที่เป็นเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง
   จะเห็นว่าผมจะใช้คำถามเป็นส่วนใหญ่ เพื่อกระตุ้นให้โค้ชชี่ได้คิดทางเลือกของตัวเอง จะให้แนวความคิดไปบ้าง แต่ก็เป็นเพียงเรื่องเล่า แล้วถามความคิดเห็นของโค้ชชี่ในประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อโค้ชชี่

   หลังจากจบโปรแกรมที่ดำเนินการมา 3-4 ครั้ง (ระยะห่างประมาณเดือนละ 1 ครั้ง) ผมก็จะขอความคิดเห็นจากโค้ชชี่(ผู้บริหาร) ว่าคิดอย่างไร กับโปรแกรมโค้ชชิ่งในลักษณะนี้ และพอจะสรุปแนวทางที่เข้าใจได้หรือไม่?

   โดยส่วนใหญ่แล้วจะตอบว่า ดีมาก และโค้ชชี่สามารถนำไปเปลี่ยนแปลงตัวเองได้จริง แต่ก็คงต้องฝึกฝนต่อไปเรื่อยๆ เพราะยังไม่ค่อยเป็นธรรมชาติเท่าไรนัก

ประเด็นที่สคัญในสิ่งที่โค้ชชี่(ผู้บริหาร) บอกมีดังนี้

1. โค้ช (ตัวผมเอง) ทำให้โค้ชชี่ พูดความคิดของตัวเองออกมา อยากจะเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม รู้สึกเกิดความไว้วางใจว่า โค้ชจะไม่นำเรื่องที่พูดไปทำให้ตัวเองเสียหาย

2. โค้ชรับฟังโดยไม่พูดแทรก ระหว่างที่โค้ชชี่กำลังพูด โค้ชจะตั้งใจฟัง อย่างเดียว ไม่เสนอความคิดขัดแข้ง หรือพูดแทรก จะนั่งฟังจนจบแล้วจึงจะพูด ทำให้โค้ชชี่รู้สึกดี เหมือนได้พูดในสิ่งที่อยากพูดครบ หลังจากนั้นจึงอยากฟังความคิดของโค้ชบ้าง

3. การให้คำแนะนำของโค้ช ไม่ได้บอกว่าควรทำอะไร หรือต้องทำอย่างไร แต่จะบอกเล่าเรื่องต่างๆ ที่ใกล้เคียงกับกรณีของโค้ชชี่ แล้วให้โค้ชชี่คิดเองว่า สามารถเปลี่ยนมุมมองของตัวเอง ในเรื่องที่เกิดขึ้น หรือเรื่องที่กำลังคิดอยู่ได้หรือไม่ เพราะการเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก และการกระทำก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย

4. โค้ชไม่เคยตำหนิว่า โค้ชชี่คิดผิด และไม่โต้แย้งแนวความคิดเลย เพียงแต่ สร้างทัศนคติเชิงบวกให้กับโค้ชชี่ มองเหตุการณ์ต่างๆ ในอีกด้านหนึ่ง ซึ่งอาจไม่ตรงกับสิ่งที่โค้ชชี่คิดอยู่ แต่ก็ไม่ได้บังคับให้คิดตามที่โค้ชพูด เพียงแต่จูงใจให้ลองคิดดูเท่านั้น

5. โค้ชสามารถให้ประสบการณ์ที่เคยทำและเป็นประโยชน์กับโค้ชชี่ โดยทำให้โค้ชชี่รู้สึกว่าตัวเองก็ทำได้ หรือเคยทำมาแล้วในอดีต เพียงแต่อาจหลงลืมไปชั่วขณะ จึงทำให้รู้สึกเป็นเชิงลบ, เครียด ,กังวล เบื่อ หรือท้อถอยเป็นต้น พอโค้ชชี่คิดได้แล้ว ก็จะเลือกกลับไปทำในสิ่งที่เคยทำมาก่อนได้เอง ไม่ได้บอกว่าต้องทำอะไร

6. โค้ชมีจิตวิทยาในการจูงใจให้คิดดี และรู้สึกดีกับตัวเอง ทำให้เกิดความมั่นใจในตัวเองขึ้นมาเอง จึงอยากที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง
เพื่อทำให้ตัวเองดีขึ้น โดยที่โค้ชไม่ต้องบังคับเลย

   สิ่งที่โค้ชชี่ (ผู้บริหาร) แลกเปลี่ยนแนวความคิดที่ได้จากโค้ชเป็นประมาณนี้ครับ รวมๆ แล้วก็จะพูดคล้ายๆกัน ผมจึงรวมเป็นส่วนเดียวกันจะได้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ในการปฏิบัติตัวของโค้ชครับ ถ้าอยากเป็นโค้ชต้องทำให้โค้ชชี่เกิดความรู้สึกประมาณนี้ครับ กระบวนการโค้ชชี่ง จึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีครับ
   จากสิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนดังกล่าวนี้ เป็นเหตุการณ์จริง ที่หลายองค์กรพบเจอ ผู้บริหารหลายท่านให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก แต่มีหลุมพรางหลายประเด็นที่ยังอาจตกกันบ่อยครั้ง สำหรับฉบับหน้ามีตัวอย่างการโค้ชพนักงานให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง เพื่อเป็นทักษะพื้นฐานกับการเติบโตอย่างมั่นคงและยังยืนต่อไป
พบกันฉบับหน้าครับ