If you cannot view this HTML message properly,
please click here
หากพบปัญหาในการดูภาพหรือลิงค์ต่างๆ
กรุณา คลิกที่นี่
 
วันที่ 23 มิถุนายน 2554
  การสอนงาน (Coaching) ของโค้ชนั้น เป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง ระหว่างการพูดคุยหรือใช้คำถามนั้น ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น บางครั้งต้องหยุดลงจากโค้ชชี่ที่ไม่พร้อมให้เราถามในครั้งนั้น จึงนำอาการต่างๆ ที่เคยพบและก้าวข้ามมาได้เพื่อเผยแพร่ให้นำเทคนิคต่างๆนี้ไปทดลองใช้กันดูว่าผลจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ตัวอย่างแบบที่ 3 : การใช้คำถามให้เหมาะสมกับอาการต่างๆ ของโค้ชชี่
การใช้คำถามที่ดี ในกรณีที่โค้ชชี่มีอาการต่างๆ ดังนี้ ...
โค้ชชี่ไม่ค่อยยอมตอบคำถาม
เล่าประสบการณ์ของเราในเรื่องนั้นๆ ก่อนแล้วจึงถามว่า “เธอคิดอย่างไร ?”
การใช้คำถามที่สามารถตอบได้ง่ายๆ ก่อน เช่น
- เธอคิดว่าพี่เป็นคนอย่างไร ?
- เธอชอบงานนี้หรือไม่ ?
- เธอชอบกีฬาอะไรมากที่สุด ?
เป็นต้น
จูงใจให้เขาเล่าเรื่องแทนการตอบคำถามของเรา เล่าอะไรให้พี่ฟังหน่อย ?
โค้ชชี่ไม่อยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง

อย่าบังคับให้เขาเปลี่ยนแปลง ต้องทำให้เขายอมรับเอง โดยใช้คำถามทำให้เห็นประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเองให้ได้ เช่น
-ทำไมไม่อยากเปลี่ยนแปลง ?
- เปลี่ยนแปลงแล้วได้ประโยชน์อะไร ?
- ลองเปลี่ยนแปลงดูหน่อย จะดีหรือไม่ ?
- เธอลองคิดดูอีกที ว่ามีประโยชน์อย่างไร ?
เป็นต้น

โค้ชชี่พยายามอธิบายเรื่องของตัวเขาเอง มากกว่าการตอบคำถาม
พยายามใช้คำถามประเภทที่ทำให้เขาแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่กำลังพูดคุยกัน เช่น ...
- เธอคิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ?
- เธอรู้สึกอย่างไร ? เพราะเหตุใด ?
- เธออยากเปลี่ยนแปลงตัวเองหรือไม่ ?
เป็นต้น
โค้ชชี่รู้สึกอึดอัดจากการตอบคำถาม
เปลี่ยนบรรยากาศเป็นการเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเองแทนให้น่าสนใจ แล้วจึงค่อยถามต่อว่า “เธอคิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ?”
เปิดโอกาสให้เขาถามเราบ้าง เช่น “เธอจะถามอะไรพี่หรือไม่ ?”
   ฉบับนี้ลองนำไปฝึกฝนเพิ่มเติมนะครับ ระหว่างการฝึกฝนทีมงานของคุณจะพบอาการต่างๆ ที่เหมือนและต่างจากนี้ หากได้ผลอย่างไร สามารถส่งมาแลกเปลี่ยนกันบ้างก็ดีนะครับ ความเป็นธรรมชาติจะเกิดขึ้นหากท่านได้ฝึกฝนบ่อยครั้ง ครั้งต่อไปผมมีหัวข้อที่ทุกท่านต้องเคยรู้สึกมาบ้าง แนวทางที่ผมนำมาให้เห็นจากกรณีศึกษาในคลาสกับเรื่อง “ เผชิญกับเรื่องที่ยากด้วยความอยาก” พบกันอีกครั้งฉบับหน้าครับ

พบกันฉบับหน้าครับ